ฝังเข็ม
ศาสตร์แพทย์แผนจีนทางเลือกใหม่ในการรักษาโรค Acupuncture (Rampada Internation Clinic)
การฝังเข็มคืออะไร ?
การฝังเข็มคือการใช้เข็มฝังลงไปบนจุดฝังเข็มตามร่างกายตามหลักการรักษาของแพทย์แผนจีน
ฝังเข็มทำอย่างไร เจ็บหรือไม่
ในขณะที่เข็มผ่านผิวหนังจะมีอาการเจ็บเล็กน้อยเมื่อเข็มฝังเข้าไปลึกถึงตำแหน่งของจุดฝังเข็มจะมีอาการปวดตื้อๆ หรือปวดหน่วงๆ ไม่มากและปวดร้าวไปตามทางเดินของเส้นลมปราณ
เข็มที่ใช้ฝังใช้ได้ครั้งเดียวหรือไม่
รัมภาดา อินเตอร์เนชั่นแนล คลินิก จะใช้เข็มเพียงครั้งเดียวและทิ้งเลยไม่นำกลับมาใช้อีกเด็ดขาด
การฝังเข็มรักษาโรคได้อย่างไร
ตามทฤษฎีแพทย์แผนจีน เชื่อว่าการฝังเข็มทำให้ระบบลมปราณ หมุนเวียนดีขึ้น ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย นอกจากนี้แพทย์แผนปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า การฝังเข็มทำให้เกิดการหลั่งสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เอนดอร์ฟิน ซึ่งมีฤทธิ์ระงับการปวดและมีสารบางอย่างที่ไปช่วย ลดการอักเสบ อีกทั้งยังเพิ่มการไหลเวียนเลือด ที่ไปเลี้ยงบริเวณที่มีอาการอักเสบนั้นๆ
ฝังเข็ม รักษาโรคอะไรบ้าง?
การฝังเข็มโค้การรับรองจากองค์การอนามัยโลก การฟัง บ บทบาทในการรักษาโรค ดังนี้
- รักษาอาการปวดต่างๆ เช่น ใบเกรน ปวดหลัง ปวดศีรษะ
- โรคเกี่ยวกับกล้ามเบื่อ เช่น ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ออฟฟิศซินโดรม
- กลุ่มโรคเกี่ยวกับเส้นประสาท เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต กระดูกทับเส้น
- โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ เช่น ข้อเข่าเสื่อม ปวดข้อ
- โรคอื่นๆ เช่น นอนไม่หลับ
จะต้องฝังเข็มเป็นเวลานานเท่าไหร่
ควรฝังเข็มสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลานานประมาณ 30 นาที ควรมารับบริการฝังเข็ม อย่างน้อย 5-10 ครั้ง แล้วแต่การพิจารณาของแพทย์ โดยเฉพาะโรคเรื้อรังควรได้รับการฝังเข็มต่อเนื่อง
การเตรียมตัว สําหรับการฝังเข็ม
- ผู้ป่วยที่ต้องการมารับการฝังเข็มต้องเตรียมตัวดังนี้
- รับประทานอาหารตามปกติ ไม่ควรทานมากจนเกินไปหรือท้องว่างหิวเกินไป
- พักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ ไม่อ่อนเพลีย สวมใส่เสื้อผ้าที่ใบรัดแน่นจนเกินไป ควรสวม กางเกงที่หลวมสามารถรูดขึ้นได้เหนือเข่าและ สวมเสื้อหลวมแขนสั้นหรือมีเสื้อกล้ามใส่เตรียม ด้านใน
- รับทราบข้อห้าม และต้องไม่เป็นผู้ป่วยที่มี ข้อห้ามในการฝังเข็ม
- ขณะรับการฝังเข็ม หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการปวดมากขึ้น หน้ามืดเป็นลม ต้องรีบแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
ข้อห้าม ในการฝังเข็ม
- ผู้ป่วยโรคหัวใจใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจ (Pacemaker)
- ผู้ป่วยที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด
- โรคที่ต้องการรักษาด้วยการผ่าดิดโรคมะเร็ง
- โรคเลือด ระบบแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
- สตรีชณะตั้งครรภ์
